กิจกรรมระหว่างภาคเรียน

                                                                 ภาคเรียนที่ 2 / 2557

ประเภทสินเชื่อ



ชื่อธนาคาร
ชนิดสินเชื่อ
ประเภท
ลักษณะผู้ใช้
ระยะเวลา
อัตราดอกเบี้ย
วงเงิน
รัฐบาล
ธุรกิจ
อุปโภค บริโภค
ธนาคารไทยพาณิชย์
สินเชื่อเพื่อรายย่อย

  ü

-ผู้ประกอบการธุรกิจ นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
-มีประสบการณ์ในการดำเนินกิจการอย่างน้อย 1 ปี

- สินเชื่อระยะยาว (Loan) สูงสุด 10 ปี
- สินเชื่อเพื่อเงินทุนหมุนเวียน (O/D) ตามแต่ลูกค้าจะแจ้งยกเลิกหรือธนาคารใช้สิทธิ ยกเลิกการให้สินเชื่อ

เรียกเก็บในอัตราขั้นต่ำร้อยละ3.25แต่ทั้งนี้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 4ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ
5,000,000 บาท

สินเชื่อเพื่อการเคหะ


  ü
บริการสินเชื่อเพื่อการกู้ยืมสำหรับลูกค้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปซื้อ หรือปลูก สร้างที่อยู่อาศัย, ซ่อมแซม โดยมีการผ่อนชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกๆ เดือนตามระยะเวลา อัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขตามที่ธนาคารกำหนด
ระยะเวลากู้นานสูงสุด 30 ปี โดยอายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปี
ตราดอกเบี้ย MRR บวกด้วยอตราร้อยละ 0.75 ต่อปี
วงเงินกู้สูงสุด 90% ของราคาประเมินหลักประกัน ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุมัติของธนาคาร






ชื่อธนาคาร
ชนิดสินเชื่อ
ประเภท
ลักษณะผู้ใช้
ระยะเวลา
อัตราดอกเบี้ย
วงเงิน
รัฐบาล
ธุรกิจ
อุปโภค บริโภค

สินเชื่อรถคือเงินพร้อมใช้


ü
-ผู้ขอสมัครต้องเป็นบุคคลธรรมดาอายุ26-60ปี
-เป็นเจ้าของกรรมสิทธ์รถยนต์ที่ปลอดภาระหนี้หรือภาระผูกพันใดๆ
จนกว่าลูกค้าจะแจ้งยกเลิกหรือธนาคารใช้สิทธิยกเลิกการให้สินเชื่อ
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) : 28%
สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท

สินเชื่อหมุนเวียน


ü
บริการสินเชื่อส่วนบุคคลที่ทางธนาคารจะอนุมัติวงเงินให้ลูกค้าไว้ใช้จ่าย แล้วแต่ความประสงค์ของลูกค้า โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลคํ้าประกัน โดยลูกค้าสามารถเบิกถอนวงเงินดังกล่าวได้จากเครื่อง ATM หรือ เครื่อง ATM POOL ทั่วประเทศ
ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 72 เดือน
อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปี แบบลดต้นลดดอกสำหรับสินเชื่อเงินสด
-วงเงินอนุมัติ>= 100,000เจ้าของกิจการ28.0%
พนักงานประจำ25.0%
-วงเงินอนุมัติ<100,000
เจ้าของกิจการ28.0%
พนักงานประจำ28.0%


วงเงินอนุมัติสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และไม่เกิน 1,500,000 บาท

 
การตลาดของธนาคาร
ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน)  เป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินที่ครบวงจรชั้นนําของประเทศ นําเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม ธนาคารมีเครือข่ายการให้บริการทางการเงินในประเทศที่กว้างขวางและครอบคลุมการให้บริการทางการเงินสําหรับลูกค้าทุกกลุ่มและทุกประเภทของผลิตภัณฑ์
ธนาคารไทยพาณิชย์ได้แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม
1. ธุรกิจขนาดใหญ่
2. ลูกค้าธุรกิจ
3. ลูกค้าบุคคล
4. ธุรกิจพิเศษ
ธนาคารไทยพาณิชย์แบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 4 กลุ่ม
1. ลูกค้าบุคคล
2. ลุกค้าธุรกิจ
3. ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่
4. ลูกค้าธนบดีธนกิจ
ช่องทางหลักในการให้บริการลูกค้าของธนาคารไทยพาณิชย์
                1. การให้บริการบริหารเงินเพื่อธุรกิจ 
                2. การค้าต่างประเทศ
                3. ผลิตภัณฑ์บริหารเงิน
                4. ผลิตภัณฑ์ทางตลาดตราสารหนี้และตลาดทุน
                5. บริการที่ปรึกษาทางการเงิน
                6. วาณิชธนกิจ
7. บริการทางการเงินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ให้บริการโดยบริษัทในเครือของธนาคารแก่ลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจ เช่น การบริการซื้อขายหลักทรัพย์ บริการจัดการลงทุน และบริการประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
ธนาคารไทยพาณิชย์ได้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ออกเป็น 5 กลุ่ม
1. ผลิตภัณฑ์อัพทูมี
2. ผลิตภัณฑ์เงินฝาก
3. ผลิตภัณฑ์การลงทุน
4. ผลิตภัณฑ์ประกัน
5. ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ
กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง
ธนาคารได้ดำเนินงานตามกลยุทธ์หลัก 6 ด้าน ได้แก่
1. การขยายการเติบโตในกลุ่มธุรกิจลูกค้าบุคคล โดยแบ่งลูกค้าตามเซ็กเม้นต์ ผ่านกลยุทธ์ customer              centric
 2. เพิ่มส่วนแบ่งตลาดในสินเชื่อ SME กลุ่ม 20-50 ล้านบาท
3. สร้างรากฐานในตลาดต่างประเทศที่สำคัญ เพื่อรองรับการขยายการลงทุนของลูกค้า ทั้งขาเข้า   และขาออกจากประเทศไทย
 4) ยกระดับงานสนับสนุนและปฎิบัติการ (operation) ทั้งหมดของธนาคาร เพื่อรองรับการ           ให้บริการได้อย่างเต็มที่ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ
                5) การพัฒนาบุคลากรผ่านโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้และทักษะ (skill building) อย่างเป็น    ระบบทั่วทั้งองค์กร
                6) ยกระดับระบบ IT หลัก เช่น ATM Core Bank Payment และสาขา เพื่อให้บริการลูกค้าและ     รองรับปริมาณธุรกิจจำนวนมากได้ตลอดเวลาและเต็มศักยภาพ 
                กลยุทธ์การตลาดของธนาคาร ประกอบด้วย 4P
                1.ด้านผลิตภัณฑ์
             
·         ผลิตภัณฑ์อัพทูมี
                ครั้งแรกกับชีวิตที่เลือกได้ UP2ME การเงินสไตล์ใหม่ ชีวิตเรา...แล้วแต่เรา
         
·         ผลิตภัณฑ์เงินฝาก                                     
                สะดวกสบายกับการใช้จ่ายประจำวัน คล่องตัว สูงสุดทั้งฝาก-ถอน-โอนเงิน         ได้ทุกที่ทุกเวลา

·         ผลิตภัณฑ์การลงทุน
            เริ่มลงทุนง่ายๆ สามารถเลือกลงทุน หลากหลายรูปแบบ ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ภายใต้              ความเสี่ยงที่ยอมรับได้



               


      
        




 

            

·          วาณิชธนกิจ



·       การลงทุน




                 2. ด้านราคาและอัตราดอกเบี้ย 

              อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก >>>> คลิก

              อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ>>>>คลิก

                3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายของธนาคาร

                                ธนาคารรักษาความเป็นผู้นําด้านผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ สําหรับลูกค้าบุคคล รวม ถึง เป็นผู้นํา    ด้านจํานวนสาขาและเครือข่าย ATM ของประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นผลของการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นปี 2556 ธนาคารมีสาขาจํานวน 1,173 แห่ง ATM 9,172 เครื่อง และศูนย์  แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ  108 แห่ง นับเป็นเครือข่ายการให้บริการทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
            1.สำนักงานใหญ่หรือสาขา เป็นช่องทางแบบดั้งเดิมที่ธนาคารใช้ในการให้บริการกับลูกค้า             และยังคงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน ช่องทางที่ ลูกค้าสามารถใช้ทำธุรกรรมได้ทุกประเภท ปัจจัยหลักที่ใช้ในการเลือกสถานที่ตั้งของสาขาก็คือ ย่านชุมชนและย่านธุรกิจที่มีการคมนาคมที่สะดวก มีที่จอดรถอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าช่องทางนั้นจะเป็นช่องทางที่ดีที่สุด แต่การขยายสาขา    จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง ฉะนั้น จึงได้เกิดช่องทางใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ มี สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก เขตจัตุจักร  กรุงเทพฯ 10900
                2.สาขาย่อย เป็นสาขาขนาดเล็ก (Mini Branch) ที่เข้าไปตั้งอยู่บนสถานีรถไฟฟ้า หรือห้างสรรพสินค้าสาขาย่อยเหล่านี้จะให้บริการเฉพาะอย่างเท่านั้นเช่นธนาคารไทยพาณิชย์  มี 1,173 สาขา ทั่วประเทศ
                3. เครื่อง ATM เป็นช่องทางที่ให้ลูกค้าสามารถถอน ฝาก และโอนเงินได้โดยอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนต่ำ สามารถติดตั้งได้ทั่วไป
                4.ธนาคารโทรศัพท์ (Tele-Banking) และธนาคารออนไลน์ (Online Banking) เป็นช่องทางใหม่ที่ธนาคารในประเทศไทยได้นำเข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดเงินโอนเงินผ่านทางโทรศัพท์ธรรมดา โทรศัพท์มือถือ หรือทางอินเทอร์เน็ตInternet) ได้ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ มี SCB Easy Netที่ให้บริการโอนเงินภายในธนาคารบริการชำระค่าสินค้าหรือบริการโอนเงินล่วงหน้าบริการด้านการลงทุนซื้อขาย สับเปลี่ยน กองทุนรวมและรายงานต่างๆที่เกี่ยวกับการลงทุน เป็นต้น

 4.การส่งเสริมทางการตลาด

·       UP2ME Easy Pay มอบโปรโมชั่นพิเศษ

UP2ME Easy Pay มอบโปรโมชั่นพิเศษเอาใจนักช้อปยุคดิจิตอล ฟรี!! คูปองแทนเงินสดรวม 1,000 บาท ให้ช้อปแบบไม่ต้องควักตังค์ที่เซ็นทรัลและเซน
                ยิ้มรับซัมเมอร์ กับ โปรโมชั่นประกันชีวิต 2 ต่อ ให้คุณเลือกได้...ตามใจ
CSR การดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน 
                                ธนาคารไทยพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจเคียงข้างสังคมไทยมายาวนานกว่าศตวรรษ ด้วยความยึด             มั่นใน    หลักจริยธรรมทางธุรกิจและการกำกับ ดูแลกิจการที่ดีควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อ สังคม ซึ่งรวมถึงลูกค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงาน โดยได้ริเริ่มสร้างสรรค์ โครงการ และ กิจกรรมเพื่อสังคมที่  มุ่งเน้นการสร้างรากฐาน สานต่อ ก่อเครือข่าย และขยายผลในระยะยาวเพื่อเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดจน สนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าผาสุกของสังคมส่วนรวม 

                โครงการและกิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ที่ธนาคารได้ริเริ่มและสนับสนุน               นั้นสามารถแบ่งตามเจตนารมณ์ออกเป็น 3 มิติ ได้แก่

·       โครงการพัฒนาเยาวชนและส่งเสริมการเรียนรู้

·       โครงการสร้างเครือข่ายจิตอาสา

·       โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม




เก็บตกการแสดงละคร"SCB ติ๊ด ติ๊ด"


 


ทุกคนอยากเห็นพวกเราแสดงละครแล้วสินะ 

กดลิงค์นี้เลยค่ะ รับประกันความฮา!!!!!




   อัตราดอกเบี้ย ธนาคารไทยพาณิชย์

อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก >>>> คลิก

อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ>>>>คลิก

ดอกเบี้ย คือ                                                                                                                            
        ผลตอบแทนที่ผู้ฝากเงินได้รับจากการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากผลตอบแทนที่ผู้ให้สินเชื่อได้รับจากผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งในกรณีนี้จะหมายถึง สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยเงินกู้    ผลตอบแทนอาจอยู่ในรูปของตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่คิดคำนวณเป็นเงินได้ เช่น ธนาคารพาณิชย์แจกของสมนาคุณให้กับลูกค้า อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อจูงใจให้ฝากเงินไว้กับธนาคาร ดังนั้น การคำนวณดอกเบี้ยที่ได้รับแท้จริงต้องรวมมูลค่าของสมนาคุณด้วย                                                                                                       
   อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก คือ                                          
        อัตราดอกเบี้ยร้อยละต่อปีที่สถาบันการเงินจ่ายให้กับผู้ฝากเงิน เพื่อเป็นค่าตอบแทนที่ผู้ฝากนำเงินมาเปิดบัญชี เงินฝากไว้กับสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีหลายประเภท หลายอัตรา โดยขึ้นกับระยะเวลาการฝากเงินและเงื่อนไขการถอนเงิน เช่น อัตราดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่สามารถถอนเงินได้ตลอดเวลา จึงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน เป็นต้น     ทั้งนี้ เมื่อท่านเลือกจะบริหารเงินโดยการฝากเงิน ควรเลือกประเภทการฝากเงินที่เหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของท่าน เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฝากเงินนั้น                                                                                                                                        
  อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (ดอกเบี้ยอ้างอิง) คือ                                                          
       อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อจากลูกค้า ได้แก่                                                                                                                         
        MLR (Minimum Loan Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ                 
       MOR (Minimum Overdraft Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี                                                                         
      MRR (Minimum Retail Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น            
       CPR (Consumer Product Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อบุคคลที่ธนาคารประกาศกำหนด ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวและอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ธนาคารประกาศ หากอัตราดอกเบี้ยและวิธีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญานี้ขัดต่อกฎหมาย ประกาศ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ถือเอาอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารอาจเรียกเอาจากผู้กู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่กฎหมายประกาศ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องอนุญาตเป็นอัตราบังคับใช้ตามสัญญาข้อนี้ ณ วันที่ มกราคม พ.ศ.2549 อัตราดอกเบี้ย CPR = 18%  ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (ดอกเบี้ยอ้างอิง)
เริ่มใช้ตั้งแต่ วันที่ 19 มีนาคม 2557

อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (ร้อยละต่อปี)
    1.      อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญชั้นดี  ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate
          MLR  =  6.756
    2.      อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate
          MOR  = 7.425
    3.      อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retailt Rate)
    MRR  = 8.100
   
อ้างอิงจาก: http://www.scb.co.th/th/home


โครงสร้างของแหล่งที่มาและใช้ไป



อ้างอิงจาก: รายงานประจำปี 2556

                                            
                                                    โครงสร้างองค์กร ( กรณีศึกษา )
รูปแบบการจัดองค์การของธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด( มหาชน )

ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด(มหาชน)มีรูปแบบการจัดองค์การแบบแมททริกซ์ Matrix Structure เนื่องจาก ธนาคารเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ และมีการจัดหน่วยงานการทำงานที่ซับซ้อนโดยธนาคารดำเนินโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งรวมถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ องค์ประกอบ และวาระการดรงตำแหน่งของ คณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อย การประชุมของคณะกรรมการธนาคาร การสรรหาและเลือกตั้งกรรมการ การปฏิบัติต่อกรรมการใหม่ การดรงตแหน่งของกรรมการ    ในบริษัทอื่น การแยกตแหน่งและบทบาทหน้าที่ระหว่าง นายกกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้มีอนาจในการจัดการ การประเมิน ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธนาคารและผู้มีอนาจ ในการจัดการ การวางแผนพัฒนาเพื่อทดแทนตแหน่งงาน และบทบาทหน้าที่ของเลขานุการบริษัท
ลักษณะการจัดองค์การของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด( มหาชน )
1.              Organization Chat รวมของทั้งระบบ
เริ่มจากคณะกรรมการของธนาคารประกอบด้วยคณะกรรมการธนาคารชุดย่อย และคณะกรรมการฝ่ายจัดการที่คณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งขึ้น เพื่อช่วยในการกำกับดูแลกิจการของธนาคาร ดังนี้
คณะกรรมการชุดย่อย (Board Committees) 4 ชุด ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งแต่ละชุดมีองค์ประกอบ บทบาท และหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

-                   คณะกรรมการบริหาร   มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของธนาคารตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย โดยมีความรับผิดชอบหลักในการพิจารณากลั่นกรองเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณา อันได้แก่ แผนกลยุทธ์ แผนธุรกิจ และงบประมาณประจำปี งบการเงิน การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญ
-                   คณะกรรมการตรวจสอบ  มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการสอบทานให้ธนาคารมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล รวมทั้งสอบทานให้ธนาคารปฏิบัติตามข้อกำหนดของทางการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่พิจารณา คัดเลือก ทบทวน เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ประเมินผลการปฏิบัติงานของธนาคารตามที่ได้รับทราบจากรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-                   คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล ทำหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆ เช่น นโยบายในการสรรหากรรมการธนาคาร นโยบายการจ่ายค่าตอบแทน นโยบายด้านบรรษัทภิบาลของธนาคาร เป็นต้น  
-                   คณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม  มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดทิศทาง กำกับ ดูแล และประเมินผลการดำเนินธุรกิจที่จะสนับสนุนโครงการกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการวางรากฐาน สานต่อ ก่อเครือข่าย       
 คณะกรรมการฝ่ายจัดการ มีทั้งหมด 6 ชุด ประกอบด้วย คณะกรรมการจัดการ คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร คณะกรรมการโครงการปรับปรุงธนาคาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน และคณะกรรมการบริหารการลงทุนตราสารทุน ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละคณะดังนี้    
-                   คณะกรรมการจัดการ มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการดำเนินธุรกิจของธนาคาร อาทิ การทบทวนผลการดำเนินงานและแนวทางกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและพิจารณาการดำเนินงานที่เหมาะสม พิจารณา
-                   คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของธนาคาร รวมทั้งกำกับดูแล ติดตาม และทบทวนการนำนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการทรัพยกรบุคคลในหน่วยงานต่าง ๆ ของธนาคารไปปฏิบัติ
-                   คณะกรรมการโครงการปรับปรุงธนาคาร 
มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางโครงสร้างของโครงการปรับปรุงธนาคาร ติดตาม       ความคืบหน้าและสร้างความสอดคล้องกันของทุกโครงการ รวมทั้งจัดสรรทรัพยากร แก้ปัญหา และตัดสินใจในประเด็นที่สำคัญ เพื่อผลักดันให้โครงการต่าง ๆ ภายใต้โครงการปรับปรุงธนาคารดำเนินการได้สำเร็จ
-           คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง  มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการกำหนดนโยบายและ      แนวทางการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร และ/หรือ คณะกรรมการธนาคาร พิจารณาในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงโดยรวม
-        คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน  หน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญของคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง ด้านอัตราดอกเบี้ยและด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นไปตามข้อกำหนดของทางการ
-      คณะกรรมการบริหารการลงทุนตราสารทุน  มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดแผนงานการลงทุนในตราสารทุนให้สอดคล้องกับนโยบายโดยรวมของธนาคาร


2. Organization Chat ของสายงานต่างๆ
              ธนาคารจะแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 3 ลักษณะตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจ กลุ่มงานสนับสนุนและกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์

       โครงสร้างการบริหารงาน

      โครงสร้างสายงาน


3. Organization Chat ของฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานใหญ่
     ฝ่ายต่างๆ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบตาม Functional ของฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย โดยจะอยู่ภายใต้กรอบแนวทางการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ได้วางไว้  จากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ และมีคณะกรรมการธนาคารซึ่งได้รับการรับเลือกจากผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงาน
      4. Organization Chat ของสำนักงานเขตและสาขา 
          ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาทั้งหมด 1,173 สาขา โดยแบ่งเป็น กรุงเทพและปริมณฑล 530 สาขา  ส่วนต่างจังหวัด             643 สาขา  ต่างประเทศ 4 สาขา  สาขาของธนาคารจะได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานใหญ่ในการบริหาร     ดูแล และสนับสนุนให้สามารถทำธุรกิจแข่งขันกับธนาคารอื่นได้ โดยในแต่ละสาขาจะมีผู้จัดการสาขา     เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการในการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย

ที่มา  รายงานประจำปี 2556






เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2557

Money Expo ครั้ง14 ธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินการลงทุนภายใต้แนวคิด “ที่สุดแห่งนวัตกรรมทางการเงิน

กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินการลงทุนภายใต้แนวคิด ที่สุดแห่งนวัตกรรมทางการเงิน” ในงานมหกรรมการเงิน Money Expo ครั้งที่ 14 นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สะท้อนผ่านผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆ โดยนำเอาแนวคิด “Innovative Financial Solutions” หรือ การเป็นธนาคารแห่งอนาคต” มาเป็นแกนหลักในการตอบสนองความต้องการ และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคดิจิตอล

แคมเปญสินเชื่อบ้าน/รีไฟแนนซ์บ้าน
ธ.ไทยพาณิชย์สินเชื่อบ้าน กู้บ้าน...บินฟรีปี2 ไปเป็นคู่” รับบัตรกำนัล Bangkok เดินทางไปท่องเที่ยวฟรี มัลดีฟ-มัณฑะเลย์-หลวงพระบาง-สมุย,สินเชื่อบ้านMy home My cashอัตราดอกเบี้ย0% 3เดือน



แคมเปญประกัน
ธ.ไทยพาณิชย์ประกันวินาศภัย รับสิทธิ์ผ่อน0% 6เดือน

SCB ติ๊ด ติ๊ดMobile Application ที่พัฒนาขึ้นจากความคิดของพนักงานไทยพาณิชย์ในการช่วยให้การทำธุรกรรมการฝาก ถอน โอน จ่าย ที่สาขาเป็นเรื่องที่ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น

"UP2ME Easy Pay" Mobile Payment Applicationที่จะมาสร้างประสบการณ์และเทรนด์ใหม่ของการจ่ายเงินให้นักช้อปยุคดิจิตอลด้วยการจับมือกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ครั้งแรกในเมืองไทยกับการชำระค่าสินค้าและบริการไม่ว่าจะการช้อปปิ้ง กินข้าว ดูหนัง จ่ายบิล หรือเติมเงิน แบบไม่ต้องควักตังค์ เรามุ่งมั่นพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในยุคดิจิตอลรวมถึงขานรับความเป็นสังคม Cashless Society
บูธของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ได้แบ่งโซนการให้บริการออกเป็น โซน ได้แก่
Lifestyle Pavilion  ครบครันทุกความสะดวกสบาย เพื่อชีวิตทันสมัย ง่ายและเร็วกว่าใคร ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคดิจิตอล เช่น SCB ติ๊ด ติ๊ด, SCB Easy Netผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต และการจ่ายบิลผ่านตู้เอทีเอ็ม
Wealth Pavilion  สร้างความมั่งคั่งให้ชีวิต ด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น เงินฝาก ประกัน และกองทุน
Dream Pavilion  สานความฝันให้เป็นจริง ด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่หลากหลาย อาทิ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อส่วนบุคคล
Partnership Pavilion  โชว์เคสจากพันธมิตรทางธุรกิจที่จะมาสะท้อนไลฟ์สไตล์คนยุคดิจิตอลและเอสเอ็มอี
นอกจากบูธหลักแล้วในปีนี้ กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ยังมีบูธ "SCB UP2ME" การเงินสไตล์ใหม่ ในโซน Digital Banking นำโดยบริการ "UP2ME Easy Pay" ที่นำเสนอการเงินสไตล์ใหม่ ที่จะมาสร้างประสบการณ์ทางการเงิน ในรูปแบบMobile Payment Application ที่รวมการจ่ายเงินไว้ในแอพเดียว โดยร่วมมือกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ทางธุรกิจ ที่จะสร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกในเมืองไทยกับการชำระค่าสินค้าและบริการไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้ง กินข้าว ดูหนัง จ่ายบิล หรือเติมเงิน ด้วย QR Code สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย แบบไม่ต้องควักตังค์
ผลิตภัณฑ์ บริการ และโปรโมชั่นพิเศษ
กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ขนทัพผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมานำเสนอแก่ชาวกรุงเทพและปริมณฑล ได้แก่  สินเชื่อบ้านไทยพาณิชย์ ครบครันทั้งสินเชื่อบ้านใหม่ บ้านมือสอง บ้านปลูกสร้างเอง สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ และสินเชื่อบ้านคือเงิน (My Home My Cash) ทรัพย์ธนาคาร (NPA) บ้านมือสองธนาคารราคาพิเศษ สินเชื่อรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ My Car My Cash ผลิตภัณฑ์ My Car My Cash พร้อม บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล Speedy Loan เงินก้อน ผ่อนเบาๆ รายเดือน และ สินเชื่อหมุนเวียน Speedy Cash เงินด่วน พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการ นอกจากนี้ยังรวมถึงประกันชีวิต ประกันวินาศภัย กองทุนรวม และบริการอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง SCB Easy Net บริการจ่ายบิลและเติมเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม ที่พร้อมเติมเต็มทุกความต้องการด้านการเงินอีกด้วย
ในปีนี้กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ยังได้จัดแคมเปญและโปรโมชั่นพิเศษเพิ่มเติมเพื่องานมันนี่ เอ็กซ์โป กรุงเทพฯ 2014 


บรรยากาศบูธ ธนาคารไทยพาณิชย์






ถ่ายรูปกับป้ายงานหน่อยค่ะ....จะได้รู้ว่ามาถึงแล้วว

   



เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2557

ประวัติพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย
        ตั้งแต่ก่อธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน ) ตั้งมาจนถึงปัจจุบัน ธนาคารมีเอกสารสำคัญ และเครื่องมือเครื่องใช้จำนวนมาก อันบ่งบอกถึงวิวัฒนาการแห่งความเจริญก้าวหน้าในระบบการเงินการธนาคารของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพในอดีตได้อย่างชัดเจน และด้วยตระหนักถึงคุณค่าของความรู้อันสืบเนื่องมาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของระบบการเงินการธนาคาร ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่า และเป็นของหายากในปัจจุบัน ธนาคารจึงได้จัดสร้าง “ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ” ขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ในการจัดแสดงสิ่งของล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ด้านการเงินการธนาคารของชาติ สำหรับเป็นแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการ อันเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง ซึ่งสามารถใช้เป็นที่ค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปได้
พิพิธภัณฑ์ เริ่มเปิดดำเนินการที่อาคารสำนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย เมื่อปี พ.ศ. 2526 และได้ย้ายมาจัดแสดงที่สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2539 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย และในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้มีการปรับปรุงและได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเยี่ยมชมอย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม 2550 ในวาระครบรอบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์


วิวัฒนาการเงินตรา
การเก็บอาหารและสิ่งมีค่านั้น เป็นนิสัยอย่างหนึ่ง ที่คนเราประพฤติปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยโบราณ ควบคู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติแล้ว เมื่อมีการนำสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเข้ามาใช้ การเก็บรักษาทรัพย์สินตลอดจนอาหาร จึงค่อยๆ เปลี่ยนรูปมาเป็น การเก็บออมสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สถานที่ซึ่งสามารถอำนวยความปลอดภัย ในการเก็บรักษาสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจึงเกิดขึ้นต่อมา สถานที่รับฝากเหล่านี้ ได้นำสิ่งของสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ที่รับฝากไว้ และมีจำนวนมากออกให้ยืม โดยได้รับผลตอบแทน กิจการธนาคารจึงเกิดขึ้นครั้นเมื่อมีการนำโลหะเงิน และโลหะทองมาใช้เป็นเงินตราแล้ว ด้วยมาตรฐานของเงินตรา ที่เป็นโลหะที่มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกชิ้น จึงทำให้เกิดความสะดวก ในการชำระหนี้มากขึ้น การค้าขายจึงแพร่หลาย กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อการเดินเรือสามารถทำได้กว้างขวางขึ้น การค้าขายทางทะเล ก็สามารถทำได้กว้างขวางตามไปด้วย ความจำเป็นในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุล ซึ่งมีน้ำหนัก และความบริสุทธิ์ของเนื้อเงินต่างกันก็เกิดขึ้น การส่งเงินไปชำระหนี้ และการรับฝาก การเรียกเก็บเงิน การให้กู้ยืมเงิน จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ธุรกิจการธนาคาร แพร่หลายและรุ่งเรืองต่อมา

ต้นแบบธนาคารไทย
การติดต่อและค้าขายกับต่างประเทศ ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นเหตุสำคัญ ทำให้ต่างประเทศเห็นเป็นช่องทาง ที่จะหาประโยชน์ จากการที่ประเทศไทยขาดธนาคาร ที่จะทำธุรกิจ การธนาคารพาณิชย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จึงได้เข้ามาเปิดสาขา ดำเนินกิจการในประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่ พุทธศักราช 2431 เป็นต้นมา
และในที่สุด สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ทั้ง 3 แห่ง ได้จัดพิมพ์ และนำบัตรธนาคาร เข้ามาใช้ในระบบการเงินของไทยด้วย ในระยะต่อมาด้วยความสำคัญของธุรกิจการธนาคาร ที่มีต่อการค้าและเศรษฐกิจของประเทศนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติในขณะนั้น จึงทรงคิดตั้ง ธนาคารของชาติ หรือธนาคารกลางขึ้นก่อน เพื่อที่จะให้เป็น ตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล แล้วยังจะทรงให้ ธนาคารของชาตินี้ เป็นผู้พิมพ์ธนบัตรของประเทศขึ้น และนำออกใช้อีกด้วย แต่ก็ต้องทรงระงับความคิดนี้ไว้
เนื่องจากบรรดาที่ปรึกษาทางการเงิน ชาวต่างประเทศพากันคัดค้าน พระองค์จึงทรงหันไป ปรับปรุงมาตราหน่วยเงินของไทย ให้เป็นระเบียบ แต่เพียงประการเดียว โดยทรงพิจารณา ลดหน่วยเงินตราของไทยลง จากเดิม 9 หน่วย ได้แก่ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ และโสฬส ให้เหลือเพียง 2 หน่วย ได้แก่ “บาท” และ “สตางค์” อันเป็นระบบทศนิยม ทำให้สะดวกแก่การคิดคำนวณ และลงบัญชี ในพุทธศักราช 2441 พร้อมกับได้เริ่มติดต่อกับประเทศอังกฤษ เพื่อพิมพ์ธนบัตร เข้ามาใช้ใน พุทธศักราช 2445
ระบบการเงินของไทย จึงประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ และธนบัตร เมื่อได้จัดรูปแบบของ ระบบเงินตราของประเทศเรียบร้อยแล้ว จึงประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พุทธศักราช 2447
ส่วนทางด้านความคิด จะจัดตั้งธนาคารขึ้นนั้น เมื่อยังไม่สามารถ จัดตั้งธนาคารของรัฐขึ้นได้ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จึงทรงหันไปพิจารณา ธนาคารของเอกชน หรือธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทรงตระหนักดี ถึงความจำเป็นของประเทศ ที่ต้องมีการค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ ยังทรงเห็นถึงความยากลำบาก ของบรรดาพ่อค้าชาวไทย และจีน ที่ต้องติดต่อขอใช้บริการจาก สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ที่มีอยู่ในขณะนั้น แต่ก็มิได้รับความสะดวก ประกอบกับ การที่ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ ที่เป็นของคนไทยมารองรับ
พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัย ที่จะจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้นมาให้จงได้ จึงทรงเห็นว่า น่าที่จะทดลองดำเนินงานดูก่อน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ มีความรู้ในการบริหารธนาคารขึ้นแล้ว เมื่อจะขยายกิจการให้ใหญ่โตต่อไป ก็จะสามารถนำประสบการณ์ ไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
ที่สำคัญคือ เป็นการฝึกให้ชาวไทย มีความรู้ในด้านการบริหารธนาคารพาณิชย์อีกด้วย พระองค์ทรงจัดหาเงินลงทุนได้ จำนวน 30,000 บาทแล้ว ก็ทรงเตรียมการจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก โดยยื่นขออนุญาตจัดตั้ง “บุคคลัภย์” ขึ้น เริ่มสั่งซื้อกระดาษ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ติดต่อขอเช่าตึกแถวของพระคลังข้างที่ ตำบลบ้านหม้อ พร้อมทั้งจัดหาพนักงาน รวมทั้งผู้จัดการไว้ เตรียมทำพิธีเปิดดำเนินการต่อไป เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว

ไทยพาณิชย์กับการก้าวสู้ยุคปัจจุบัน

ภาพพจน์ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ปรากฏในความรู้สึกของสาธารณชน คือ ความมั่นคง มีผู้บริหารมืออาชีพ มีความเจริญเติบโตสูง เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีการธนาคาร ในขณะที่มุ่งเน้น การนำเทคโนโลยีใหม่ มาบริการแก่ลูกค้า แต่ก็สามารถรักษาผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น ลูกค้าและพนักงานของธนาคาร
การนำเทคโนโลยี เข้ามาให้บริการแก่ลูกค้า นอกจากจะอำนวยความสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังคำนึงถึงการเพิ่มคุณค่า ในบริการที่ให้แก่ลูกค้า และการแพร่ขยายธุรกิจไป ในด้านต่าง ๆ อีกด้วย ทั้งนี้ นับตั้งแต่ธนาคาร ได้นำระบบบริการเงินด่วน ATM เข้ามาบริการแก่ลูกค้า เป็นธนาคารแรกในประเทศไทยแล้ว ก็ดูเหมือนว่า เป็นก้าวสำคัญ ของการเปลี่ยนแปลงของการธนาคารพาณิชย์ไทย ไปสู่การเป็นธนาคารใน ระบบธนาคารพาณิชย์ สมัยใหม่ จากนั้นธนาคาร ได้สร้างศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ไทยพาณิชย์ขึ้น เพื่อเก็บสำรองข้อมูล และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนา และให้บริการแก่ลูกค้า และยังใช้เป็นข้อมูล ในการตัดสินใจด้านการบริหารที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น