ข่าวเศรษฐกิจ/การลงทุน

วันที่ 12 มิถุนายน 2557

บลจ.ไทยพาณิชย์ แนะเพิ่มน้ำหนักกองทุนกลุ่มแบงก์รับเศรษฐกิจโต แนะ SCB Banking ให้ผลตอบแทนจากต้นปี 21.9%



นายสมิทธ์ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยถึง ทิศทางการลงทุนในช่วงนี้ว่าตลาดรับรู้ข่าวดีขึ้นมามาก โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการปรับตัวสูงขึ้นจากต้นปีถึง 12.2% (6 มิ.ย. 57) ทำให้มีแรงขายทำกำไรออกไปบ้างในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและส่งผลให้ ตลาดหุ้นไทยยังสามารถไปต่อได้
http://admax.effectivemeasure.net/emnb_1_439797.gifเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว หุ้นกลุ่มธนาคารก็ได้รับอานิสงค์และกลับฟื้นตัวนำตลาด ดังนั้น บลจ.ไทยพาณิชย์ แนะนำนักลงทุนเพิ่มสัดส่วนในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยกองทุนที่แนะนำเป็น ทางเลือก คือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET Banking Sector(SCB Banking) ซึ่งเป็นกองทุนเดียวในตลาดกองทุนรวมที่เป็นช่องทางการลงทุนโดยเน้นเฉพาะหุ้นในกลุ่มธนาคารเท่านั้น โดยตั้งแต่ต้นปี 2557 จนถึงปัจจุบัน (มิ.ย.57) สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีอยู่ที่ +21.9% , 3 เดือนที่ +13.3%, 6 เดือนที่ -1.77%, 1 ปีที่ -11.62% และนับแต่จัดตั้งกองทุนที่ +41.21% สะท้อนถึงธุรกิจธนาคารในประเทศที่มีเสถียรภาพและมีความมั่นคงสามารถสร้างผลการดำเนินงานในระดับที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET Banking Sector เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นหมวดธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 80 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยจะใช้กลยุทธ์ที่สร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีหมวดธุรกิจธนาคารให้มากที่สุด
ภายหลังจากการประกาศแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของคสช. ทำให้นโยบายต่างๆ ที่ดูเหมือนหยุดชะงักอยู่สามารถเดินต่อไปได้ เศรษฐกิจเริ่มมีความหวังในการฟื้นตัว โดยบลจ.ไทยพาณิชย์มองว่ากลุ่ม ธนาคารจะได้รับประโยชน์จากการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับนักวิเคราะห์หลายสำนักได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากจะมีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและส่งผลดีต่อการขยายสินเชื่อและผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารในที่สุดนายสมิทธ์ กล่าว

วันที่ 20 พฤษภาคม 2557

SCB EIC ประเมิน GDP ปี 57 โต 1.4% หลังตัวเลขไตรมาสแรกอ่อนแอตามคาด
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 57 จะขยายตัวได้ 1.6% หลังภาพไตรมาส ออกมาใกล้เคียงกับมุมมองที่คาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะอ่อนแอต่อเนื่องจากการที่ครัวเรือนและนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น อย่างไรก็ดี ตัวเลขการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ลดลงมาก และทำให้การลงทุนภาครัฐต่ำกว่าที่ประเมินไว้เป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม
               วานนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส ปี 2014 ลดลง 0.6%YOY (เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า) จากที่ขยายตัว 0.6%YOY ในไตรมาสก่อนหน้า การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงลดลงต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสแรกของปี 2014 ลดลง 3.0%YOY โดยเป็นผลจากการใช้จ่ายสินค้าในหมวดสินค้าคงทนที่ลดลงสอดคล้องกับยอดขายรถยนต์นั่งที่ลดลงจากไตรมาสแรกของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่ยังมีการส่งมอบรถยนต์ตามนโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรกอยู่ ส่วนการลงทุนภาคเอกชนลดลง 7.3%YOY ตามการลงทุนในด้านการก่อสร้างที่หดตัว 7.8%YOY และการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ยังหดตัว 7.2%YOY เนื่องจากผู้ประกอบการยังไม่จำเป็นต้องเร่งขยายกำลังการผลิตภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอจากการส่งออกที่ฟื้นตัวค่อนข้างช้า และผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง
การลงทุนภาครัฐหดตัวลงมากกว่าที่คาด  หลังจากที่ได้มีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กว่า แสนล้านบาทไปในไตรมาสก่อนหน้า การเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนในไตรมาส ปี 2014 ก็กลับชะลอลงทั้งในส่วนของการลงทุนในด้านการก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือ ซึ่งหดตัว 17.1%YOY และ 23.4%YOY ตามลำดับ โดยสาเหตุหลักมาจากรัฐวิสาหกิจที่มีการลงทุนลดลงราว 40%YOY ทั้งในด้านการก่อสร้างและด้านเครื่องจักรเครื่องมือ
รายรับจากนักท่องเที่ยวหดตัวลงครั้งแรกในช่วง ปีที่ผ่านมา โดยการส่งออกภาคบริการในไตรมาส หดตัว 4.2%YOY ซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมทัวร์ศูนย์เหรียญของรัฐบาลจีน และจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย
การส่งออกสุทธิช่วยพยุงตัวเลข GDP แม้การส่งออกสินค้าจะขยายตัวได้เพียง 0.8%YOY ตามการส่งออกไปจีนและอาเซียนที่ชะลอลง แต่การนำเข้าสินค้าที่ลดลงถึง 12.0%YOY จากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแรง ทำให้การส่งออกสินค้าสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 96.1%YOY และช่วยพยุงตัวเลข GDP ให้หดตัวเพียง 0.6%YOY

อ้างอิงจาก http://www.ryt9.com/s/iq03/1901168 (สำนักข่าวอินโฟเควสท์ )




คอลัมน์: จับประเด็น: SCBLife โกยกำไร 1.4 พันล้านเติบโต 22%
นายวิพล วรเสาหฤท กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (SCBLIFE) เปิดเผยว่า ไตรมาสแรกปี 2557 บริษัททำผลงานได้ตามเป้าหมาย มีกำไรสุทธิ 1,469 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,204 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 265 ล้านบาท หรือ 22% รายได้รวม 13,391 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% มาจากรายได้เบี้ยประกันชีวิตสุทธิ 11,880 ล้านบาท เติบโต 9% รายได้จากการลงทุนสุทธิ 1,505 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% และรายได้อื่นๆ อีก 5.9 ล้านบาท


อ้างอิงจาก http://www.ryt9.com/s/tpd/1900609( หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ )

วันที่ 6 พฤษภาคม 2557


ASP ขาย DW อ้างอิง BANPU,BLAND,KTB,PTTEP,PTTGC,SCB,TMB,TOP เทรด พ.ค.

                     สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)เปิดเผยว่า บล.เอเชีย พลัส(ASP)    
จะเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW)จำนวน 10 หลักทรัพย์ อ้างอิง บมจ.บ้านปู(BANPU)บมจ.บางกอกแลนด์(BLAND)ธนาคารกรุงไทย(KTB)บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP)บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล(PTTGC)ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB)ธนาคารทหารไทย(TMB)และ บมจ.ไทยออยล์(TOP)โดยจะทำการซื้อวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ พฤษภาคม 2557
ทั้งนี้ เป็นการเสนอขาย DW ประเภทสิทธิในการซื้อ(Call Warrants) และประเภทสิทธิในการขาย(Put
Warrants)ใช้รายละเอียด DW ดังนี้
DW                        หุ้นอ้างอิง        จำนวน     ราคาใช้สิทธิ     อัตราใช้สิทธิ         เทรดวันแรก               อายุ            ครบกำหนดอายุ
(ล้านหน่วย)     (บาท)      (DW:หุ้นอ้างอิง)                                    (เดือน)
BANP08C1501A     BANPU          30.00             23.00         17.5 : 1                      8 พ.ค.57                     8                 14 ม.ค.58
BANP08P1501A     BANPU          25.00             31.00         11.5 : 1                      8 พ.ค.57                     8                 14 ม.ค.58
BLAN08C1409A     BLAND          30.00                1.85        0.55 : 1                      8 พ.ค.57                     5                  6 ต.ค.57
BLAN08C1501A     BLAND          30.00                1.48         0.72 : 1                     8 พ.ค.57                     8                 14 ม.ค.58
KTB08C1501A        KTB             30.00             16.40                7 : 1                  8 พ.ค.57                     8                 14 ม.ค.58
PTTE08C1501A     PTTEP          30.00            151.00            35 : 1                   8 พ.ค.57                     8                 14 ม.ค.58
PTTG08C1501A     PTTGC          30.00             67.00             17 : 1                   8 พ.ค.57                     8                 14 ม.ค.58
SCB08C1501A        SCB             30.00            160.00            34 : 1                   8 พ.ค.57                     8                 14 ม.ค.58
TMB08C1501A        TMB             30.00               2.10           1.2 : 1                  8 พ.ค.57                     8                 14 ม.ค.58
TOP08C1501A        TOP             30.00             50.00         17.5 : 1                    8 พ.ค.57                     8                 14 ม.ค.58

บริษัทจะเสนอขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์(direct listing)/PO
บล.เอเชีย พลัส ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อในระดับ A- โดยบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์(ประเทศไทย)จำกัด เมื่อวันที่21 พฤศจิกายน 2556

อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร(วันที่สืบค้น7พฤษภาคม 2557)

วันที่ 2 พฤษภาคม 2557



SCB EIC ปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อปี 57 จับตาผลกระทบขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม

                   ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB EIC)ปรับการคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อ
พื้นฐานเฉลี่ยในปี 57 เป็น 2.5% และ 1.6% ตามลำดับ จากก่อนหน้านี้ที่ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยจะอยู่ที่ราว 2.2%และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยจะยังคงอยู่ในระดับต่ำราว 1.3%  วานนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย.57 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 2.45%YOY (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) เร่งขึ้นจาก 2.11%YOY ในเดือนมีนาคม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.66%YOY เร่งขึ้นจาก 1.31%YOY ในเดือนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ราคาอาหารสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเป็นสาเหตุหลักของการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายน โดยราคาอาหารสำเร็จรูปในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 5.09%YOY เร่งขึ้นค่อนข้างมากจาก 3.68%YOY ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอาหารสำเร็จรูปนี้มีที่มาหลักจากการปรับขึ้นราคาแก๊สหุงต้มตั้งแต่เดือน ก.ย.56 เนื่องจากราคาอาหารสดไม่ได้มีการเร่งตัวเท่าไรนัก โดยราคาอาหารสดในเดือนเมษายนชะลอลงเป็น 4.57%YOY จาก5.70%YOY ในเดือนก่อนหน้า
ขณะที่ราคาพลังงานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนเมษายนเร่งขึ้น โดยราคาพลังงานในประเทศปรับตัวลดลงค่อนข้างมากในเดือนเม.ย.56 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังอ่อนแรงและอุปทานน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นจากผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปค ส่งผลให้เงินเฟ้อในส่วนของราคาพลังงานเร่งขึ้นอย่างรวดเร็วจาก2.29%YOY ในเดือนมีนาคมเป็น 4.37%YOY ในเดือนเมษายน ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า ราคาพลังงานในประเทศเพิ่มขึ้น 0.19%MOM ในเดือน เม.ย.ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยช่วงเวลา 12 เดือนก่อนหน้า
SCB EIC ประเมินว่า ราคาพลังงานที่ต่ำในปีที่ผ่านมาจะยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อไปอีก เดือนข้างหน้า ในขณะที่ยังต้องจับตามองผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับราคาก๊าซหุงต้ม เงินเฟ้อในส่วนของราคาพลังงานจะยังคงเร่งขึ้นมาอยู่ในระดับสูงในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ก่อนที่จะกลับเข้าสู่แนวโน้มเดิม ในขณะเดียวกันยังต้องจับตามองผลกระทบที่จะทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปได้อีกในระยะต่อไป

อินโฟเควสท์ โดย รัชดา คงขุนเทียน/ศg/ศิธร (วันที่สืบค้น7พฤษภาคม2557)



29 เมษายน 2557



ฝ่ายวิจัย SCB ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 57 ลงเหลือโต 1.6% จาก 2.4%
นางสุทธาภา อมรวิวัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)
คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP) ของไทยในปีนี้จะอยู่ที่ 1.6% จากประมาณการเดิมไว้ก่อนหน้านี้ที่2.4% เนื่องจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่มีความยืดเยื้อ ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น การบริโภคภาคครัวเรือนลดลง 0.5%, การลงทุนภาครัฐลดลง 6.6% และ1การลงทุนภาคเอกชนลดลง 2.8%
"เรามองว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ว่าจีดีพีปีนี้จะติดลบแม้จะจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ก็ตาม โดยคาดว่าปีนี้จีดีพีจะเติบโตได้ 1.6% ภายใต้สมมุติฐานดังกล่าว อย่างไรก็ตามก็เชื่อว่าไทยน่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ภายในปีนี้ และแม้จะมีการจัดตั้งรัฐบาลได้ทันก็จะส่งผลกระทบไปถึงปีหน้า และหากความรุนแรงทางการเมืองยังอยู่ในระดับนี้ต่อไปก็ถือว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยไตรมาสแรกติดลบอยู่ที่ 0.3%" นางสุทธาภา กล่าว
ทั้งนี้ศูนย์วิจัยฯ ประเมินการส่งออกปีนี้จะขยายตัวที่ 4% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัวได้ 5% หลังการส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้หดตัว 1% เนื่องจากการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบไปตลาดหลักในประเทศ อินโดนีเซีย และออสเตรเลียหดตัว รวมถึงสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา และอาหารทะเล มีราคาตกต่ำ โดยการส่งออกที่ขยายตัวได้ในปีนี้มาจากการเติบโตที่ดีขึ้นของการส่งออกรถยนต์ไปยังตลาดรอง เช่น ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ขณะที่การส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มเห็นการฟื้นตัว
สำหรับค่าเงินบาทในอนาคตมีแนวโน้มอ่อนค่าจากปัจจุบันเนื่องจากการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศที่เป็นผลมาจากอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจและผลประกอบการของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการเมือง แม้จะมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดทุนในช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาก็ตาม แต่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐที่เร็วกว่ากำหนด ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33 บาท/ดอลลาร์

อินโฟเควสท์ โดย สุวิมล ภูมิคำ/ธนวัฏ/รัชดา (วันที่สืบค้น 30 เมษายน 2557)





BIG LOT: วันนี้ SCB มูลค่าสูงสุด 832.53 ลบ.ราคาเฉลี่ย 161.97 บ./หุ้น

       ปิดตลาดหุ้นไทยวันนี้ พบมีการซื้อขายบิ๊กล็อต 16 หลักทรัพย์ 54 รายการพบ SCB มีมูลค่าสูงสุด 832.53 ล้านบาท
 ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 161.97 บาท

          รายงานหลังปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันนี้ พบว่ามีการทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานใหญ่ (BIG LOT) จำนวน 16 หลักทรัพย์ 54 รายการ ดังนี้

หลักทรัพย์             รายการ         จำนวนหุ้น          มูลค่า        ราคาเฉลี่ย       ราคาพาร์

                                                   (พันบาท)           (บาท)

SCB                       2                    5,140,000       832,530.20        161.97        10.00
KBANK-F            18                  858,200        163,113.80        190.07         10.00
BBL-F                   3                     839,700         156,026.20        185.81        10.00
CPF                       2                  2,717,800         75,636.37          27.83           1.00
PTTGC                 4                 1,026,500         72,859.01          70.98            10.00
STEC                    1                4,000,000          70,240.00          17.56            1.00
P-FCB                   8                3,660,000          50,142.00          13.70           1.00
SPALI                  2                2,659,600          49,282.39         18.53             1.00
MALEE                3                590,000             19,234.00         32.60             1.00
ADVANC             1                73,000              16,352.00         224.00           1.00
SIRI                      1               5,000,000            9,800.00          1.96               1.07
DELTA                 1                134,900              8,161.45         60.50            1.00
TCAP                    1                170,000             6,142.10         36.13            10.00
CPALL                  1               120,000             5,325.60         44.38             1.00
IEC                        5             52,000,000         1,560.00           0.03                0.10
CENT23C1404A     1          5,000,000              50.00            0.01              0.00
หมายเหตุ: รวมตลาด MAI ด้วย
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย



อ้างอิงจาก http://thunhoon.com/highlight/153908/153908.html (หนังสือพิมพ์ทันหุ้น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น